{banner}
 
 
 
 

 

WEBBOARD

 

{body

วิธีการศึกษา

EXSAMPLE
1. ในภาคสนาม
ทำการเก็บตัวอย่างดินในบ่อพักน้ำเพื่อใช้เพาะเลี้ยงกุ้ง อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ครั้งที่ 1 คือ วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 โดยใช่ท่อพลาสติกตักดิน 2 cm โดยดินชั้นบนคือ ดินชั้นที่ 1 เป็นดินที่มีความลึก 1 เซนติเมตรและดินชั้นล่างคือ ชั้นที่ 2 ซึ่งมีความลึก 2 เซนติเมตร ใน 1 บ่อจะทำการเก็บตัวอย่างดิน 3 จุด แต่จุดเก็บ 2 ครั้ง (core) ซึ่งเราจะได้ตัวอย่างทั้งหมดของ 1 บ่อ คือ 12 ถุง ดังรูป

เมื่อเก็บตัวอย่างดินจากบ่อพักน้ำที่ใช้เพาะเลี้ยงกุ้งมาเรียบร้อยแล้ว ให้เขียนบ่อ จุด และชั้นของดินติดไว้ที่ถุงให้ชัดเจนเพื่อจะได้ไม่ผิดพลาดในการศึกษา แล้วเติมน้ำยา Rose Bengal กับ Formalin 10 % ลงไปเพื่อเป็นการย้อมสีสัตว์หน้าดินขนาดเล็กเหล่านี้ เพื่อง่ายต่อการ sort สัตว์หน้าดินขนาดเล็กและเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์หน้าดินขนาดเล็กเน่าเปื่อยและสูญเสียสภาพย่อยสลายไป เพื่อจะได้นำมาศึกษา ผูกถุงให้เรียบร้อยมาใส่กล่องที่แยกไว้แต่ละบ่อเพื่อนำกลับมาศึกษา และทำเช่นนี้อีกในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นครั้งที่สองที่เก็บจากบ่อพักน้ำที่จะนำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงกุ้งบ่อเดียวกันนี้
2. การศึกษาในห้องปฏิบัติการ
นำตัวอย่างดินมาวัดปริมาณอีกโดยกระบอกตวง ได้ดินประมาณ 10 ลูกบาศก์เซนติเมตรนำดินที่วัดปริมาณเรียบร้อยแล้วไปล้าง โดยเทตัวอย่างดินลงในถุงกรองขนาด 63 ไมครอน ล้างให้สะอาดจนหมดกลิ่นและสีของน้ำเริ่มใสด้วยน้ำเปล่า เพื่อจะส่องดูตัวสัตว์หน้าดินขนาดเล็กได้ง่ายและชัดเจนแล้วเทใส่บีกเกอร์ไว้ใช้ dropper ดูดตัวอย่างดินที่ล้างไว้เรียบร้อยแล้ว ใส่จานขนาดเล็กเพื่อมาส่องดูสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก และเตรียมจานแก้วขนาดเล็กใส่ Formalin 6 % เตรียมไว้เพื่อบรรจุสัตว์หน้าดินขนาดเล็กที่คัดแยกมาได้โดยมีชื่อสัตว์หน้าดินขนาดเล็กแต่ละชนิดกำกับอยู่ด้วยเพื่อเป็นง่ายต่อการจำนำตัวอย่างดินที่เตรียมไว้แล้วมาส่องดูภายใต้กล้อง stereo - microscope แล้วคัดแยกสัตว์หน้าดินขนาดเล็กนี้ตามชนิดออกจากดินให้หมดทำการตรวจ นับสัตว์หน้าดินขนาดเล็กแต่ละชนิดแล้วบันทึกผล
นำสัตว์หน้าดินขนาดเล็กที่นับเรียบร้อยแล้ว บรรจุในขวดขนาด 2 มิลลิลิตร ที่เตรียม Formalin 6 % ไว้พร้อมทั้งเขียนชื่อชนิดสัตว์หน้าดินขนาดเล็ก วัน เดือน ปี และสถานที่ที่เก็บตัวอย่างดินไว้ให้เรียบร้อย
นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปสรุป และสร้างกราฟเปรียบเทียบจำนวนของกลุ่มสัตว์หน้าดินขนาดเล็กเหล่านี้ แสดงถึงจำนวนชนิดที่พบในแต่ละครั้ง จำนวนของสัตว์หน้าดินขนาดเล็กที่พบมากที่สุดในแต่ละครั้งแล้วนำมาสรุปและวิจารณ์ผลการทดลอง
อุปกรณ์การศึกษา
1. กล้องจุลทรรศน์แบบ Stereo-microscope และ Compound microscope
2. Loop สำหรับ sort สัตว์หน้าดินขนาดเล็ก
3. จานแก้วขนาดเล็กสำหรับใช้ใส่สัตว์น้ำขนาดเล็ก
4. Beaker 50 ml, 100 ml, 250 ml และ 500 ml
5. ขวดขนาด 2 ml
6. ถุงกรองขนาดความถี่ 63 ไมครอน
7. กระบอกตวงที่ใช้วัดปริมาณดิน
8. Formalin 6 %
9. Formalin 10 %
10. น้ำยา Rose Bengal
11. Dropper (หลอดดูด)
12. ถุงพลาสติกพร้อมยางรัดปากถุง
13. ปากกาเคมี
14. กล่องสำหรับใส่ดินที่มาแยกแต่ละบ่อไว้

นี่เป็นเพียงตัวอย่างการศึกษาเพียงและอุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาเพียงคร่าวๆเท่านั้น ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีและรัดกุมสำหรับพื้นที่ๆใช้ในการศึกษาไม่มากนัก แต่ถ้าทำในพื้นการศึกษาที่ๆใหญ่กว่าหรือต้องการผลการศึกษาที่ละเอียดกว่าก็ต้องมีการพัฒนาวิธีการศึกษาและอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งๆขึ้นไป

}

...Prevouis