{banner}
 
 
 
 

 

WEBBOARD

 

{
Cumacean Cumacean
body}

CUMACEA
Cumaceans ประกอบด้วยสมาชิกมากกว่า 770 ชนิดคูมาเซียนเป็นครัสตาเซียนที่อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล โดยอาศัยอยู่ใต้พื้นทรายหรือโคลน มีขนาดใกล้เคียงกับไมสิด (Order Mysidacea)
ลักษณะทั่วไป
ลักษณะของคูมาเซียนแปลกกว่าครัสตาเซียนกลุ่มอื่นคือ ส่วนหัวและอกขยายใหญ่ แต่ส่วนท้อง (abdomen) แคบมาก และปลายสุดของท้องเรียวยาวเป็น uropod มี carapace คลุมตัว และเชื่อมติดกับปล้องอก 3 ปล้องแรก (หรือ 4 ปล้องแรก) carapace ที่คลุมตัวมีลักษณะแปลก คือ ริมสองข้างของด้านหน้ายื่นยาวออกไป ทำให้มีลักษณะคล้ายกับจงอยปาก จึงมีชื่อเรียกว่า false rostrum ตั้งอยู่ที่ด้านท้อง คูมาเซียนส่วนใหญ่ไม่มีตา แต่ถ้ามี ตาจะอยู่ที่ด้านบนฐานของ false rostrum
ตัวเมียมีหนวดสั้น แต่ตัวผู้มีหนวดยาวและงอพับไปกับด้านข้างของลำตัว บางครั้งอาจอยู่ในร่องข้างตัว ขาอก 3 คู่แรกพัฒนาเป็น maxillipeds ขาอกคู่ที่ 4 ยาวและอ่อน มี exopod เฉพาะบนขาบางคู่เท่านั้น ตัวเมียไม่มีขาที่ท้อง (pleopods) แต่ตัวผู้ส่วนใหญ่มีขาที่ท้อง
Exopod ที่อยู่ที่ขามีประโยชน์ในการว่ายน้ำ ส่วนขาอกคู่ท้าย ๆ ใช้ขุดรูเพื่ออยู่อาศัย คูมาเซียนหายใจโดยใช้เหงือกซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นอยู่ที่ epipodite ของ maxilliped คู่ที่ 1 ตัวเมียใช้ถุงใต้อกเก็บไข่และตัวอ่อน ไข่ฟักเป็นตัวอ่อน และเจริญเติบโตเป็น postlarva เรียกว่า manca ซึ่งเป็นตัวอ่อนระยะที่ขาคู่สุดท้ายไม่เจริญต่อไป
1. เป็นสัตว์ทะเลชอบอยู่ตามพื้นหน้าดิน รวมทั้งฝังตัวในทรายและโคลน มีขนาดเล็กกว่า mysids เล็กน้อย
2. ร่างกายประกอบด้วยหัว (head) และอก (thorax) ซึ่งมีขนาดใหญ่ สำหรับท้อง (abdomen) มีลักษณะเรียวยาวพร้อมทั้งมี uropods อยู่ท้ายสุดของลำตัว
3. Carapace ไม่ได้คลุมตลอดทั้งอก
4. Antennae ในตัวเมียไม่เจริญ แต่ในตัวผู้จะยาวและพับตลอดความยาวทางด้านข้าง
5. ตาเป็นแบบ sessile
6. มี maxillary glands เป็นอวัยวะขับถ่าย
7. Thoracic exopodites ช่วยในการว่ายน้ำ โดยระยางค์อก (thoracic appendages) 3 คู่แรกได้ดัดแปลงไปเป็น maxillipeds ส่วนคู่ที่ 4 มีลักษณะยาวและเป็น prehensile

TOP