{banner}
 
 
 
 

 

WEBBOARD

 

{
Rotifera

 

Rotifera
รูปร่างลักษณะทั่วไป (General features)
ลำตัวโรติเฟอร์แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ หัว (head) ลำตัว (trunk) และ เท้า (foot) ส่วนหัวเป็นส่วนสั้น ๆ และแคบ ประกอบด้วยวงขนเรียกว่า corona ซึ่งเมื่อเคลื่อนไหวจะดูเหมือนวงล้อที่หมุน จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า wheel organ รูปร่างของ corona แตกต่างกันไปตามกลุ่มของโรติเฟอร์ ลำตัวของโรติเฟอร์มักหุ้มด้วย ลอริกา ซึ่งบาง หรือหนาก็ได้ตามชนิด ลอริกานี้ประกอบด้วยไคติน บนลอริกาอาจมีหนาม ตุ่ม หรือเครื่องประดับอย่างอื่น โรติเฟอร์ส่วนใหญ่มีหนวดที่ใช้รับความรู้สึก (sensory antenna) ซึ่งอยู่ด้านหลัง เรียกว่า dorsal antenna จำนวน 1 เส้น และอยู่ข้างลำตัวอีก 1 คู่ เรียกว่า lateral antennae foot ของโรติเฟอร์เรียวยาวมีลักษณะเป็นวงต่อกัน หรือ แบ่งเป็นปล้องแต่ละปล้องค่อนข้างแข็งเพราะประกอบด้วยไคติน ทำให้ foot ของโรติเฟอร์สามารถยืดหดได้เหมือนกับกล้องส่องทางไกล ปลายล่างของ foot มีนิ้วเท้า (toes) 2 นิ้ว ที่นิ้วเท้านี้จะมีท่อติดต่อกับต่อมที่สร้างสารเหนียว (pedal gland) สำหรับยึดเกาะกับพื้น โรติเฟอร์หลายสกุลไม่มี foot เช่น สกุล Keratella, Polyarthra, Asplanchna เป็นต้น และหลายสกุลที่สามารถพัฒนา foot เพื่อยึดเกาะกับพื้น โดยเฉพาะในพวก sessile หรือเบนโธส เช่น สกุล Floscularia ของ Class Bdelloidea foot ของโรติเฟอร์ใน class นี้แคบกว่าส่วนของ trunk และแบ่งเป็นปล้อง แต่ละปล้องสามารถยืดหดตัวได้ดี โดยปล้องที่มีขนาดเล็กจะหดเข้าอยู่ในปล้องที่มีขนาดใหญ่กว่าตามลำดับ คล้ายกับกล้องส่องทางไกล นอกจากนี้พวก bdelloid rotifer ยังสามารถดึงส่วนหัวและ foot เข้าไว้ในลำตัวได้เช่นเดียวกัน
ลักษณะของ corona ใช้แยกกลุ่มได้ โดยโรติเฟอร์ที่มีวิวัฒนาการต่ำจะมี corona ที่มีวงขนแบบง่าย (simple) บริเวณรอบส่วนหัวเรียกว่า circumapical field หรือ circumoral field ดังนั้นส่วนบนสุดของหัวที่ล้อมรอบด้วยวงขนจึงเรียกว่า apical field รอบปากก็มีวงขนเช่นกันเรียกว่า buccal field corona ของ bdelloid rotifer นอกจากมีขนาดเล็กมากแล้วยังแบ่งออกเป็น 2 วง อีกด้วย โดยวงหนึ่งอยู่ด้านบนอีกวงอยู่ด้านล่าง วงขนที่อยู่ด้านบน เรียกว่า trochus ส่วนวงที่อยู่ด้านล่าง เรียกว่า cingulum trochus ของโรติเฟอร์หลายชนิดมีลักษณะเป็นวงขนแยกกัน 2 วง เรียกว่า trochal disc ซึ่งวงทั้งสองนี้อาจยืดออกหรือหดตัวตามจังหวะของการกินอาหารหรือการเคลื่อนที่
การกินอาหารและการย่อยอาหาร (Feeding and digestion)
โรติเฟอร์กินอาหารได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของ corona และส่วนของ trophi ซึ่งอยู่ใน mastax พวกที่กินอาหารที่ซึ่งลอยอยู่ในน้ำจะมี corona ใหญ่และมี trophi ชนิดที่ใช้บด โรติเฟอร์ที่กินอาหารแบบนี้ ได้แก่ พวกที่อาศัยบนพื้นหรือ bdelloid rotifer (Class Digononta) ที่มี corona แบบ trochal disc และมี trophi ชนิด ramate ส่วนmeiofaunaโรติเฟอร์ใน Class Monogononta เป็นพวกที่มี trochus 1 วง cingulum 1 วง และมี malleate trophi โรติเฟอร์กลุ่มที่เป็นmeiofauna โดยทั่วไปกินสารอินทรีย์และสิ่งมีชีวิตขนาดจิ๋ว โดยอาหารจะถูกพัดเข้าสู่ช่องปากโดยวงขนของ corona
โรติเฟอร์ ที่กินอาหารโดยการฉีก ได้แก่ โรติเฟอร์หลายชนิดด้วยกันที่อยู่ใน Class Monogononta เนื่องจากขนาดของ corona เล็กและใช้สำหรับว่ายน้ำเพียงอย่างเดียว ฉะนั้น โรติเฟอร์จึงจับอาหารโดยการยึดส่วนของ trophi ออกมานอกช่องปาก ชนิดของ trophi ที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ forcipitate หรือ incudate อาหารของโรติเฟอร์ที่กินอาหารแบบฉีก ได้แก่ สัตว์ขนาดเล็ก แต่บางชนิดก็สามารถกินอาหารพวกพืชขนาดใหญ่ได้เช่นกัน อาหารจะถูกย่อยทั้งตัว หรืออาจถูกบดโดย trophi ใน mastax จนขนาดของอาหารเล็กลง หรือโดยการใช้ปลาย trophy แทงและดูดของเหลวจากอาหารเข้าสู่ลำตัวก็ได้
ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive system)
โรติเฟอร์มีการสืบพันธุ์ 2 แบบ คือ แบบมีเพศและไม่มีเพศ ดังนี้
1. การสืบพันธุ์แบบมีเพศ (Sexual reproduction)
ประชากรโรติเฟอร์มีเพศเมียมากกว่าเพศผู้ เพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าและมีระบบต่าง ๆ พัฒนาดีกว่าเพศผู้มาก โรติเฟอร์ที่มีการสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศส่วนใหญ่อยู่ใน Class Monogononta ระบบสืบพันธุ์ของโรติเฟอร์ อวัยวะของเพศผู้ประกอบด้วย testis 1 อัน (ยกเว้น Class Seisonidea ที่มี 1 คู่) ท่อนำสเปิร์มและช่องเปิดของสเปิร์ม (gonopore) ซึ่งผนังของท่อจะม้วนงอเพื่อเป็นอวัยวะผสมพันธุ์ และมีต่อม prostatic glands ซึ่งบางครั้งอยู่ที่ผนังของท่อสเปิร์ม ตัวผู้มีช่วงชีวิตสั้น และระบบย่อยอาหารเล็กมาก อวัยวะที่เจริญดี ได้แก่ อวัยวะที่ใช้เคลื่อนที่และระบบสืบพันธุ์ Class Bdelloidea ไม่มีเพศผู้ ฉะนั้นจึงสืบพันธุ์ด้วยวิธี parthenogenesis แต่เพียงอย่างเดียว
โรติเฟอร์เพศเมียใน Class Digononta หรือ Bdelloidea มี gervitellarium เป็นคู่ แต่ใน Class Monogononta มี germovitellarium เพียง 1 ข้างเท่านั้น germovitellarium เป็นถุงประกอบด้วยเซลล์ที่มี nucleus ขนาดใหญ่ 2-3 อัน เมื่อไข่แต่ละฟองใกล้จะโตเต็มที่เคลื่อนลงมาสู่เบื้องล่าง เพื่อเตรียมออกสู่ท่อนำไข่ germovitellarium จะสร้าง yolkให้ ไข่เมื่อไข่เจริญเต็มที่จะออกสู่ภายนอกโดยผ่านทางท่อนำไข่ (oviduct) ซึ่งมีขนาดสั้น และออกนอกตัวทาง cloaca การผสมของไข่และสเปิร์มเป็นแบบภายใน ไข่เมื่อได้รับการผสมแล้วจะสร้างเยื่อหุ้ม และไข่อาจถูกปล่อยลงสู่พื้นหรืออยู่ภายในตัวแม่ หรือติดกับตัวแม่จนกว่าจะฟักเป็นตัว

...Prevouis TOP