{banner}
 
 
 
 

 

WEBBOARD

 

{
FORAMINIFERIDA
FORAMINIFERIDA
FORAMINIFERIDA
FORAMINIFERIDA
ป็น meiofauna ซึ่งอาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล บางชนิดอาจอาศัยเกาะอยู่บนวัสดุต่าง ๆ บนพื้นท้องทะเลแบ่ง meiofauna กลุ่มนี้ตามแหล่งที่อยู่ออกได้ 4 กลุ่ม คือ กลุ่มที่อยู่ในน้ำเย็น (cold water fauna) กลุ่มที่อยู่ระหว่างน้ำเย็นและน้ำอุ่น (transition fauna) และอีก 2 กลุ่ม จัดอยู่ในพวกอาศัยในน้ำอุ่น (warm water fauna) ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณของฟอรามินิเฟรา คือ อุณหภูมิน้ำ ความเค็ม และสารอนินทรีย์ฟอสเฟต
เปลือกของฟอรามินิเฟรา มีประโยชน์มากโดยใช้เป็นตัวชี้ (indicator) ลักษณะทางธรณีนิเวศวิทยา และลักษณะของ biostratigraphical โดยดูลักษณะซากเหลือของฟอรามินิเฟราที่ทับถมในตะกอนบนพื้นท้องทะเล ดังนั้นรูปแบบของการแพร่กระจายของโปรโตซัวกลุ่มนี้ จึงถูกนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมน้ำมันทั่วโลก เนื่องจากฟอรามินิเฟราสะสมน้ำมันในเซลล์ เมื่อตายแล้วเปลือกจะทับถมอยู่บนพื้นเป็นเวลานานนับล้านปี น้ำมันที่สะสมไว้จะมีปริมาณมหาศาล ซึ่งปริมาณจะมากเท่าใดขึ้นอยู่กับแหล่งและระยะเวลาการทับถมของฟอรามินิเฟรา แหล่งที่มีชั้นของเปลือกฟอรามินิเฟราทับถมกัน เรียกว่า ฟอรามินิเฟราอูซ (foraminifera ooze) หรือ Globigerina ooze

การจำแนกชนิดของฟอรามินิเฟรา
ประมาณกันว่ามีชนิดที่พบในปัจจุบัน (recent species) มากกว่า 750 ชนิด และที่เป็นmeiofaunaนั้นมีประมาณ 44 ชนิด การจำแนกชนิดจะใช้รูปร่างของเปลือกเป็นหลัก เปลือกประกอบด้วย ซิลิกา หรือ แคลเซียม อาจมีวัสดุอื่น เช่น เม็ดทรายมาเกาะบนเปลือก บนเปลือกมักมีรูปเพื่อให้เท่าเทียมชนิด reticulopodia ยื่นออกมาได้ รูปร่างของเปลือกแตกต่างกันตามชนิด บางชนิดเปลือกมีเพียง 1 ช่อง (chamber) ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของเซลล์ โดยมีแขนงยื่นออกไปโดยรอบหรือเป็นท่อ หลายชนิดเปลือกเวียนเป็นวงคล้ายเปลือกหอย โดยช่องแรกของเปลือกที่ถูกสร้างขึ้นเรียกว่า proloculum ต่อมาเซลล์จะสร้างเปลือกหุ้มช่องใหม่ขึ้นแทนช่องเก่า ซึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าช่องเดิมทุกครั้ง แต่ละช่องอาจแบ่งออกเป็นช่องเล็ก ๆ (chamberlets) หรือไม่แบ่งก็ได้ ทุกช่อง จะมีผนังซึ่งเป็นรูกั้น อาหารของฟอรามินิเฟรา ได้แก่ ไดอะตอม (diatom) และ สาหร่าย (algae)
ฟอรามินิเฟราที่พบในตัวอย่างmeiofaunaมีดังนี้
1. ชนิดที่มีหนาม
1.1 ฟอรามินิเฟราพวกที่มีหนามบางและกลม
Globigerina sp.
ลักษณะ เปลือกวนเป็นเกลียวประกอบด้วยช่องรูปกลมหรือรูปไข่ รอยต่อแบนข้างและเรียงกันเป็นรัศมี ผนังเปลือกมีรู ช่องเปิดของช่องสุดท้ายเปิดเข้าสู่ umbilicus
1.2 ฟอรามินิเฟราที่มีหนามกลม บางครั้งเป็นหนามรูปสามเหลี่ยม
Globigerinoides sp.
ลักษณะ คล้าย Globigerina แต่ต่างจากสกุล Globigerina คือ มีช่องท้าย ๆ 6-7 ช่อง มีช่องย่อย 1-7 ช่อง บนด้านหลังของเปลือก
1.3 ฟอรามินิเฟราที่มีหนามกลมและเป็นรูปสามเหลี่ยม
Globigerinella sp.
ลักษณะ มีเปลือกขดเป็นวงในแนวราบ ช่องเปิดมีช่องเดียวอยู่กลางวงและมีขนาดใหญ่ มีหนามบาง ๆ คลุมทั่วเปลือก
1.4 ฟอรามินิเฟราที่มีหนามรูปสามเหลี่ยมและเรียงกันแบบรัศมี
Hastigerina sp.
ลักษณะ มีเปลือกเวียนเป็นวงในแนวราบ และมีช่องเปิดใหญ่อยู่บริเวณกึ่งกลางเปลือก หนามมีขนาดใหญ่
2. ฟอรามินิเฟรากลุ่มที่ไม่มีหนามบนเปลือก
2.1 ฟอรามินิเฟราที่มีจำนวนช่อง (chamber) หลายรูปแบบ
Globoquadrina sp.
ลักษณะ บนเปลือกมีช่อง (chamber) หลายช่อง

2.2 ฟอรามินิเฟรากลุ่มที่เปลือกมีรูขนาดธรรมดา (normal sized pores)
Berggrenia sp.
เป็นชนิดที่ยังเลี้ยงในห้องปฏิบัติการไม่ได้ มีชื่อสกุลอีกชื่อหนึ่งว่า Globorotalia ลักษณะคล้าย Golbigerina คือ เปลือกวนในแนวราบ ด้านหลังนูนเล็กน้อยหรือแบน ด้านท้องนูนมาก เปลือกมีรูและมีหนามกระจายทั่วไปหรือมีหนามเฉพาะแห่ง ช่องเปิดใหญ่และอยู่บริเวณกลางเปลือก ช่องเปิดบางช่องมีขอบคล้ายริมฝีปาก
Globerotalia sp.
ลักษณะ บนเปลือกมีรูซึ่งมีขนาดธรรมดา (ไม่เล็กหรือใหญ่มาก)

2.3 ฟอรามินิเฟราที่มีเปลือกเป็นรูขนาดเล็ก
Globigerinita sp.
ลักษณะ ปากช่องเปิดมีลักษณะเป็นปีก ระยะสืบพันธุ์มี umbilical bulla

3. ฟอรามินิเฟราที่เปลือกไม่ขดเป็นเกลียว
Gallitellia sp.
ลักษณะ เปลือกไม่ขดเป็นเกลียว
body}
...Prevouis TOP