{banner}
 
 
 
 

 

WEBBOARD

 

{b
Danielopolina mexicana<Ostracod>
Cypris <Ostrcod>

 

OSTRACODA (Ostracods, mussel or seed shrimps)
เป็นครัสตาเซียนที่พบทั้งในทะเลและน้ำจืด ลักษณะสำคัญคือมี 2 ฝา (bivalved carapace) หุ้มตัวจนมิด ฝามีรูปร่างกลมหรือรูปไข่ ฝามีส่วนประกอบของแคลเซียมคาร์บอเนต ขอบด้านหลังมีบานพับซึ่งมีส่วนประกอบของ cuticle ออสตราคอดบางชนิด เช่น Family Cytheridae ที่บานพับมีสันและฟัน (teech) ที่ขอบด้านหลัง บนฝาอาจมีซีตี ตุ่ม หลุมเล็ก ๆ หรือส่วนประกอบอื่น ใน Order Myodocopa มีรอยหยักที่ขอบด้านหน้าของฝา ซึ่งเป็นช่องให้ antennae ยื่นออกมาขณะที่ปิดฝา
ลักษณะทั่วไป (General feature)
ออสตราคอดโดยทั่วไปมีขนาดเล็กคือยาวตั้งแต่ 1 มม. จนถึง 6-7 มม. แต่มีชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่มากคือ Giganthocypris mulleri ซึ่งอาศัยในทะเล มีความยาวถึง 3 ซม. สีของออสตราคอดส่วนใหญ่เป็นสีออกเขียว แต่อาจพบสีแดงหรือเหลืองบ้างในบางชนิด ลำตัวแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ หัว (head) และลำตัว (trunk) หัวใหญ่มีขนาดครึ่งหนึ่งของความยาวทั้งหมด บนหัวมีหนวด 2 คู่ (antennule และ antennae) ซึ่งยาวมาก นอกจากหนวดแล้วมี mandible 1 คู่ ขอบของ mandible คมสามารถใช้ตัดอาหารได้ดี รยางค์คู่ที่ 4 คือ maxillules (1st masilla) maxillule แต่ละข้างประกอบด้วยแผ่นเหงือกและก้านเหงือก ตาของออสตราคอด มีขนาดต่าง ๆ กัน บางชนิดอาจไม่มีตา บางชนิดมีตาเดี่ยว (ocellus) 1 ข้าง บางชนิดมีตาเดี่ยว 1 คู่ ซึ่งเจริญมาจากตานอเพลียส บางชนิดมีตาประกอบซึ่งมีลักษณะเหมือนตาของไรน้ำใน Suborder Cladocera
ลำตัว (trunk) สั้น ไม่เป็นปล้อง ลำตัวทั้งหมดคลุมด้วยฝา (carapace) มีรยางค์บนลำตัว 3 คู่ คู่แรกคือ maxillae ซึ่งบางครั้งถูกจัดว่าเป็นรยางค์ของส่วนหัว ตัวผู้มีแผ่น (palp) ใช้เป็น clasper รยางค์คู่แรกมีลักษณะคล้ายขา ที่ปลายเป็นอุ้งเล็บ (claw) รยางค์คู่ที่ 2 มักจะโค้งเข้าหาลำตัว เพื่อทำหน้าที่เขี่ยสิ่งสกปรกออกจากฝาหรือลำตัว ส่วนท้อง (abdomen) เล็กมาก มีรยางค์คือ caudal rami ซึ่งอาจยาวมาก เรียกว่า furca ซึ่งมีปลายเป็นหนามแข็งหรือซีตี หรืออุ้งเล็บ (claw) furca หรือ claw มักยื่นออกจากฝาเพื่อดันลำตัวให้หลุดจากพื้นท้องน้ำ
หนวดคู่ที่ 2 (antennae) มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับแหล่งที่อยู่ ชนิดที่ว่ายน้ำจะมีหนวดยาว และมีขนเพื่อให้เหมาะแก่การว่ายน้ำ ชนิดที่อยู่ตามพื้นจะมี antennae ที่มีขนสั้น และพวกนี้จะใช้ส่วนท้องดันให้ลำตัวพ้นจากพื้น พวก Cytherid มี antennae ที่มีลักษณะคล้ายขาใช้จับอาหารและเกี่ยวกับพันธุ์ไม้น้ำ
ชีววิทยาของออสตราคอด (Biology of ostracods)
ออสตราคอดส่วนใหญ่กินอาหารแบบกรอง แต่บางชนิดกินสัตว์อื่นเป็นอาหาร บางชนิดกินของเน่าเปื่อย บางชนิดอาศัยร่วมกับสัตว์อื่น และบางชนิดเป็น parasite
ออสตราคอดไม่มีเหงือก การแลกเปลี่ยนออกซิเจนอาศัยการหมุนเวียนของน้ำ แต่บางสกุล เช่น Asterope และบางชนิดของสกุล Cypridina มีแผ่นซึ่งอยู่ส่วนท้ายของด้านหลังที่ทำหน้าที่คล้ายเหงือก มีรายงานว่าพบเฮโมโกลบินในออสตราคอดบางชนิด หัวใจและเส้นเลือดพบเฉพาะพวกออสตราคอดทะเลใน Order Myodocopa หัวใจมีลักษณะเป็นถุงเล็ก 1 ถุง แบ่งเป็น 2 ห้อง ซึ่งเป็นห้องที่ต่อกับเส้นเลือดแดง 2 เส้น เส้นหนึ่งไปที่ด้านหน้าลำตัว และอีกเส้นหนึ่งไปยังด้านท้องและด้านข้าง การหมุนเวียนเลือดเกิดขึ้นระหว่างผนังของฝาทั้ง 2 ฝา
ระบบประสาทของออสตราคอด
ระบบประสาทส่วนใหญ่ประกอบด้วยปมประสาท 2-3 ปม แต่ใน Family Cypridae มีเพียง 1 ปม ทุกชนิดมีตานอเพลียส (nauplius eye) แต่ตาประกอบ (compound eye) จะพบเฉพาะใน Order Myodocopa และออสตราคอดที่เกาะอยู่กับที่
ออสตราคอด เป็นครัสตาเซียนกลุ่มแรก ที่มีรายงานว่าสามารถส่งแสงเรือง (luminescent) สกุลทีสร้างแสงเรืองได้ พบในทะเล ได้แก่ Cypridina, Pyrocypris และ Conchoecia แสงเรืองที่เกิดเป็นแสงสีฟ้า และเกิดขึ้นได้โดยการที่ออสตราคอดขับสารออกมาจากต่อมที่อยู่ใต้ labrum การเรืองแสงอาจเกิดจากการผสมกันของสาร 2 ชนิด คือ luciferin และ luciferase ซึ่งมาผสมกันที่ภายนอก
ระบบสืบพันธุ์ (Reproductive system)
ออสตราคอดมีอวัยวะเพศผู้และเพศเมียแยกคนละตัว (dioecious) ตัวเมียมีรังไข่ 1 คู่ ท่อนำไข่ 1 คู่ ซึ่งพองออกเป็นกระเปาะเพื่อเก็บน้ำเชื้อ (seminal receptacle) ช่องรับน้ำเชื้อ (gonopore) อยู่ที่หลังรยางค์คู่สุดท้ายของลำตัว (trunk) ตัวผู้มี testes 1คู่ แต่ละข้างประกอบด้วยท่อยาว 4 ท่อ ซึ่งยาวจรดฝาหุ้มตัว ท่อนี้เชื่อมติดกับลำตัวเป็นท่อนำน้ำเชื้อ ปลายท่อน้ำเชื้อสิ้นสุดลงที่ penis ซึ่งอยู่ที่ด้านข้างของลำตัว ลักษณะของอวัยวะเพศผู้ใช้เป็นลักษณะแยกชนิด ออสตราคอดบางชนิดมีเฉพาะเพศเมียเท่านั้น ฉะนั้น การสืบพันธุ์จึงเป็นแบบ parthenogenesis ซึ่งไข่เจริญเป็นตัวอ่อนได้โดยไม่ต้องผสมกับสเปิร์ม
...Prevouis TOP